M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด

M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด

M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด
M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน โดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด


เรียบเรียงโดย สุรกิจ ตุงควรวิทย์

M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน

M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน หรือที่รู้จักกันในชื่อ เนบิวลานายพราน (Orion Nebula) หรือ วัตถุเมสสิเยร์ M42 หรือ NGC 1976 ถูกค้นพบ โดย Nicholas – Claude Fabri de Peiresc ในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็น           หนึ่งในเนบิวลาที่ สว่างที่สุด และ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ท่านสามารถเห็นกลุ่มดาวนายพราน หรือที่รู้จักกันในนาม กลุ่มดาวเต่าของไทย ได้ด้วยตาเปล่า โดยในกลุ่มดาวนี้จะมีดาวเรียงกัน  3 ดวง ตรงกันพอดี
ซึ่ง ดาวทั้ง 3 ดวงนี้ ถูกเรียกว่า เข็มขัดนายพราน และ ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นฝ้าจางๆ อยู่ใกล้ๆ ดาวทั้ง 3 เยื้องไปทางทิศใต้ ฝ้าจาง ๆ นี้เราเรียกว่า เนบิวล่าสว่างใหญ่ ซึ่งมีระยะห่างจากโลกเรา     ประมาณ 1344 ปีแสง ความสว่างของเนบิวล่านี้อยู่ที่ ประมาณ +4 ซึ่งสามารถเห็นได้     อย่างชัดเจน แม้อยู่ในพื้นที่ ที่มีแสงรบกวน

ข้อมูลภาพ

M42 เนบิวล่าในกลุ่มดาวนายพราน

ถ่ายวันที่ 21/11/15 20:00 UTC
กล้องดูดาวสะท้อนแสง MEADE POLARIS 130MM GERMAN EQUATORIAL REFLECTOR
ขาตั้งกล้องดูดาวอิเควทอเรียล ORION ASTROVIEW EQUATORIAL TELESCOPE MOUNT
มอเตอร์ตามดาว ORION EQ-3M SINGLE-AXIS TELESCOPE DRIVE
CCD ที่ใช้กล้องถ่ายภาพดาราศาสตร์ 12 BIT ZWO ASI224MC (COLOR)
500 ms ต่อรูป จำนวน 10000 รูป บันทึกเป็น AVI
ถ่ายที่ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
ใช้โปรแกรม PIPP แยกไฟล์เดี่ยว ใช้งานรวม 3000 รูป
Deepsky Stacker ในการรวมภาพ
PixInsight ในการประมวลผลภาพ
Photoshop ในการแต่งภาพสุดท้าย

ถ่ายโดย บริษัทกล้องดูดาว(ประเทศไทย)จำกัด  (C.Visarathanonth)