ภาพถ่ายหลุมบนดวงจันทร์ผ่านกล้องดูดาว (Copernicus Enhanced Color)

หลุมบนดวงจันทร์มีอยู่มากมาย แต่หนึ่งในหลุมที่โดดเด่นที่สุด คือ หลุมCorpernicus ซึ่งได้ชื่อมาจาก นักดาราศาสตร์ Nicolaus Corpernicus ภาพถ่ายหลุมบนดวงจันทร์ผ่านกล้องดูดาว (Copernicus Enhanced Color)

หลุมอุกกาบาต Copernicus มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 93 กิโลเมตร เป็นหนึ่งใน หลุมอุกกาบาตที่โดดเด่นที่สุด และยังเป็น หลุมอุกกาบาตที่มีอายุน้อย และมีความ ซับซ้อน ที่เกิดจากการพุ่งชน นักวิทยาศาสตร์ได้ คาดการว่า หลุมอุกกาบาตนี้มีอายุ น้อยกว่า 1 พันล้านปี พื้นหลุมอุกกาบาตแห่งนี้ ส่วนใหญ่มีลักษณะ ขรุขระ เป็นลอนคลื่น

เริ่มต้นการถ่ายภาพหลุมบนดวงจันทร์ผ่านกล้องดูดาว (Copernicus Enhanced Color) ที่ความละเอียดสูง โดย ใช้กล้องดูดาว Meade LIGHTBRIDGE 16″ F/4.5 TRUSS-TUBE DOBSONIAN


ภาพของดวงจันทร์ ปกติ จะมีแค่เฉพาะสีขาวดำ แต่เราสามารถเร่งสี ที่มีอยู่บนดวงจันทร์ ได้จาก โปรแกรมแต่งรูป เช่น Photoshop
ภาพถ่ายนี้ ถูกบันทึกโดยใช้ CMOS ของ กล้องถ่ายภาพดาราศาสตร์ ASI 290mm ซึ่งเป็นเฉพาะ สีขาวกับสีดำ ดังนั้น การสร้างสีของภาพ จึงต้องถ่ายภาพในแต่ละสี (แดง, เขียว, น้ำเงิน) แล้วนำภาพดังกล่าว เข้ามารวมกันเป็นรูปสี
เนื่องจาก เปลือก ของดวงจันทร์ มีลักษณะบาง และมี รอยแตก ทำให้เป็นช่องทาง ให้ลาวาที่อยู่ภายใน ดวงจันทร์ แทรกตัวขึ้นมาบนพื้นผิว การที่ดวงจันทร์ ไม่มีบรรยากาศและน้ำ จึงไม่มีกระบวนการ ผุพังทางเคมี กับส่วนประกอบทั้งหลายที่อยู่บนพื้นผิว พื้นผิว บนดวงจันทร์ ที่เรามองเห็นเป็น สีคล้ำ เกิดจาก การที่ แมกมา ไหลออกมาปกคลุม ก้นหลุมอุกกาบาต

สีของดวงจันทร์ บ่งบอกถึง ธาตุ ที่อยู่ในพื้นผิวของดวงจันทร์
สีน้ำเงินและส้มบ่งบอกถึง การไหลของลาวาที่เคยเกิดขึ้นในครั้งอดีตกาล สีน้ำเงินเข้มบ่งชีถึงพื้นที่ที่มีแร่ไทเทเนี่ยมอยู่เข้มข้น สีชมพูบ่งชี้ถึงพื้นที่ที่มีหิน เฟลด์สปาร์ ที่มี อะลูมินัม เป็นส่วนใหญ่ และมีธาตุเหล็ก ผสมอยู่เล็กน้อย 
ในพื้นที่ที่มีสีส้ม และสีม่วง แสดงถึงหิน ที่มีไทเทเนี่ยม และเหล็กอยู่น้อย

รายละเอียดภาพ

– โดย เชิดพงศ์ วิสารทานนท์
– 21 เม.ย. 62 เวลา 3:04 น. (20 APR 19; 20:04 UT)
– เขตประเวศ กทม
– Transparency 2/5
– วิธีถ่าย Lucky images
– 6 ms per frame @ gain 103
– รูปที่ดีที่สุด 10% จาก ภาพทั้งหมด 12,765 ภาพ (แดง,เขียว,น้ำเงิน) 
– ประมวลผล ด้วย AUTOSTAKKERT 2.6.8
– ปรับแต่งความคมชัด ด้วย Registax 6
– ประกอบภาพสี และ จัดองค์ประกอบภาพ Photoshop
อุปกรณ์
light bridge xx16
– Tom Equatorial platform
– Starlight Instrument 2” focuser
– FFC BAADER
– ความยาวโฟกัสสุดท้าย 3,600 มม
zwo-asi290mm
– ZWO 1.25” EFW 8 positions
– Red, Green, Blue filter CHROMA