ชาละวัน (Chalawan) ดาวบนท้องฟ้าที่มีชื่อเรียกภาษาไทยเป็นชื่อสามัญ

ชาละวัน (Chalawan) ดาวบนท้องฟ้าที่มีชื่อเรียกภาษาไทยเป็นชื่อสามัญ

ชาละวัน (Chalawan) ดาวบนท้องฟ้าที่มีชื่อเรียกภาษาไทยเป็นชื่อสามัญ


โดย เชิดพงศ์ วิสารทานนท์

“ท่านทราบหรือไม่ว่าดาวบนท้องฟ้ามีชื่อเรียกภาษาไทยที่คนทั่วโลกต้องเรียกกัน”

จุดเริ่มต้น

หลังจากที่สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union—IAU)ได้ยกเลิกวิธีการตั้งชื่อผู้ค้นพบ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ มาหลายปี  IAU กลับมาเปิดโอกาศให้คนทั่วโลกสามารถตั้งชื่อวัตถุท้องฟ้าเหล่านั้นได้อีกครั้ง โดยการเริ่มต้นครั้งนี้ IAU เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อโลกต่างระบบ (exoworld) เป็นครั้งแรกของโลก จึงทำให้ประเทศไทยเรามีโอกาสนำเสนอชื่อดาวที่เป็นชื่อไทยให้เป็นชื่อสามัญเป็นครั้งแรก  หลายท่านอาจสงสัยว่า โลกต่างระบบคืออะไร

ชาละวัน (Chalawan) ดาวบนท้องฟ้าที่มีชื่อเรียกภาษาไทยเป็นชื่อสามัญ
ชาละวัน (Chalawan) ดาวบนท้องฟ้าที่มีชื่อเรียกภาษาไทยเป็นชื่อสามัญ

การค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยจักรวาล

ท่านทั้งหลายคงทราบกันดีว่าระบบสุริยจักรวาลของเรามีดาวเคราะห์บริวาลทั้งสิ้น 8 ดวง โดยมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง และมีดาวบริวาลอันได้แก่ ดาวพุธ, ดาวศุกร์, โลก, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัส, ดาวเสาร์, ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน  สิ่งที่นักดาราศาสตร์ยังคงตั้งคำถามต่อไปคือนอกจากดาวเคราะห์ทั้งหมดนี้แล้วยังมีดาวเคราะห์ที่อื่นอีกหรือไม่  ดาวฤกษ์บนท้องฟ้าที่เราเห็นกันมากมายต่างก็เป็นดาวที่เหมือนกับดวงอาทิตย์ บางดวงเล็กกว่าบ้าง บางดวงใหญ่กว่าบ้าง บางดวงพึ่งเกิดใหม่ และบางดวงกำลังจะดับสลาย ซึ่งมีอยู่กว่า 10,000 ล้านดวงในดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy)  โดยตั้งแต่เริ่มมีการยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 จนถึงปี พ.ศ. 2551 มีการค้นพบดาวเคราะห์ที่อยู่กับดวงอาทิตย์ดวงอื่นๆ กว่า 305 ดวง  ดาวเคราะห์ต่างระบบโคจรอยู่รอบดาวฤกษ์ทั้งหมด 260 ดวงหรือพูดง่าย ๆ ว่ามีโลกต่างระบบทั้งหมดอยู่ 260 บางท่านอาจตั้งคำถามว่าดาวเคราะห์ต่างระบบหน้าตาอย่างไร ส่องกล้องดูดาวไปแล้วจะเป็นเหมือนโลกของเราหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้ว เราสามารถค้นพบโลกต่างระบบได้จาก 5 วิธีนี้ (ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม ปี 2560)

1. การส่องกล้องดูดาวเห็นโลกต่างระบบ (Direct Image)

ซึ่งวิธีนี้สามารถค้นหาโลกต่างระบบได้แล้วกว่า 43 ดวง

ถ่ายภาพโดยตรง โลกต่างระบบ

เนื่องจากการถ่ายภาพดาวเคราะห์ต่างระบบซึ่งมีความสว่างน้อยกว่าดาวฤกษ์เป็นอย่างมาก กล้องดูดาวที่ใช้จึงต้องถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้บังแสงจากดาวฤกษ์ก่อนจึงจะสามารถถ่ายภาพดาวเคราะห์ต่างระบบได้

2. การสังเกตแสงจากปรากฎการณ์เลนส์โน้มถ่วง (Gravitational Micro Lensing)

ซึ่งสามารถทำให้ค้นพบดาวได้แล้วกว่า 46 ดวง

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าแสงสามารถถูกหักเหได้เมื่อผ่านสนามโน้มถ่วง ดังนั้นเมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านดาวฤกษ์ จะทำให้เกิดปรากฎการณ์ภาพดาวกระพริบเป็นเส้นโค้งรอบดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ผ่านหน้า

 

3. การสังเกตการแกว่งไปมาของแสง (Radial Velocity)

วิธีนี้สามารถค้นพบโลกต่างระบบได้กว่า 632 ดวง

 ดาวฤกษ์แต่ละดวงมีแสงซึ่งให้คลื่นความถี่แสงค่าหนึ่ง แต่เมื่อมีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ดังกล่าว ทำให้ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวไม่คงที่ (เข้าหา-ออกห่างโลก) ทำให้คลื่นแสงมีความถี่ที่ต่างออกไป (Doppler effect)  ซึ่งเป็นปรากฎการณ์เดียวกันกับเสียงของรถไฟเวลาเปิดหวูด ขณะที่รถไฟเคลื่อนที่เข้าหาเรา เราจะได้ยินเสียงหวูดค่อนข้างสูงกว่า รถไฟที่อยู่กับที่ และเมื่อรถไฟแล่นผ่านไปเสียงจะต่ำกว่า รถไฟที่อยู่กับที่

 

4. การสังเกตหาเงาที่พาดผ่าน (Transit)

โดยวิธีนี้สามารถค้นพบได้มากที่สุดกว่า 2,731 ดวง

การสังเกตหาเงาที่พาดผ่าน (Transit)

 หากดาวเคราะห์ต่างระบบโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ให้เราเห็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์สามารถสังเกตได้ทันทีคือปริมาณแสงที่สว่างน้อยลงจากปกติ และเมื่อทำการติดตามไปเรื่อย ๆ จะพบคาบการโคจรของดาวเคราะห์ที่จะกลับมาทำให้ดาวมีความสว่างน้อยลงอีก

 

5. การสังเกตการขยับตัวเพียงเล็กน้อยของดาว (Astrometry)

วิธีนี้สามารถค้นพบได้เพียงแค่ 1 ดวง

การสังเกตการขยับตัวเพียงเล็กน้อยของดาว (Astrometry)

การสังเกตการขยับตัวเพียงเล็กน้อยของดาว (Astrometry)

วิธีนี้นักดาราศาสตร์จะวัดระยะของดาวฤกษ์ 3 ดวงที่อยู่รอบๆ กับดาวฤกษ์ที่คาดว่าจะมีดาวเคราะห์แล้วทำการวัดระยะห่างของดาวดังกล่าว กับดาวรอบ ๆ และเมื่อพบการแกว่งไปมาของระยะดาวจึงสามารถสรุปได้ว่ามีดาวเคราะห์ต่างระบบ

IAU เปิดโอกาสให้ตั้งชื่อโลกต่างระบบ

โอกาสการตั้งชื่อดาวของไทยให้เป็นชื่อดาวโลกได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อทางสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้เปิดใหโอกาสประชาชนทั่วไปตั้งชื่อดาวได้ โดยสามารถส่งชื่อให้กับองค์กรกลางที่เป็นตัวแทนตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

– องค์กรดาราศาสตร์ที่เป็นสาธารณะ (ท้องฟ้าจาลอง,สถาบันวิทยาศาสตร์, ชมรมนักดูดาวสมัครเล่น ฯลฯ)
– องค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ที่สนใจดาราศาสตร์ (โรงเรียน, ชมรม ฯลฯ) มีเอกสารยืนยันการดำเนินกิจกรรมด้านดาราศาสตร์
– องค์กรต้องมีเว็บไซต์ที่แสดงถึงกิจกรรมด้านดาราศาสตร์ที่สนใจและพิสูจน์ได้ว่าเป็นองค์กรที่ไม่หากำไร

ในขณะนั้นกระผมนายเชิดพงศ์  วิสารทานนท์ ซึ่งเป็นกรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้ถูกรับเลือกให้เป็นประธาน “โครงการสถาปนาชื่อไทยให้โลกต่างระบบ (Thai Name Exoworld)” จึงได้เริ่มดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อชักชวนองค์กรต่างๆ ในประเทศให้เป็นตัวแทนในการประกวดตั้งชื่อดาวครั้งนี้ แต่หลังจากครบกำหนดเวลาการลงทะเบียนพบว่าประเทศไทยมีองค์กรที่ได้ลงทะเบียนทั้งหมด 2 องค์กรเท่านั้น ซึ่งได้แก่สมาคมดาราศาสตร์ไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ  เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วถือว่าน้อยมาก  อย่างไรก็ตามทางสมาคมดาราศาสตร์ยังคงเดินหน้าโครงการต่อไป โดยได้เปิดให้ประชาชนทั่วประเทศเสนอชื่อเข้ามาผ่านทางเวปไซต์ของทางสมาคมฯ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษจิกายน 2557 จนถึงวันที่ 23 มกราคม 2558

ระหว่างการตั้งชื่อดาวในประเทศไทย ทางสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ให้องค์กรต่างๆ เลือกดาวฤกษ์เพียง 20 ดวง จาก 260 ดวงที่ได้ค้นพบโลกต่างระบบแล้ว ซึ่งประเทศไทยจึงเลือกดาว ที่มีโอกาสเห็นได้ในเมืองไทยช่วงฤดูหนาว(ช่วงที่มีเมฆน้อยของทั้งปี) มีความสว่างเพียงพอให้ประชาชนทั่วไปสามารถสังเกตได้  ทางคณะทำงานพบว่ามีดาวที่เข้าข่ายอยู่ด้วยกัน 2 ดวงคือ ดาวไซนกอินทรี โชติมาตร 4.7 และ 47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris, อ่านว่า 47 เออ-เซ-มา-จอ-ริส) ซึ่งมีโชติมาตร 5.1 (โชติมาตรคือความสว่างของดาว เรียงจากดาวดวงที่สว่างมากที่สุดบนท้องฟ้า = 1 ไปจนสว่างน้อยสุดที่มนุษย์สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า = 6, ตัวเลขยิ่งมีค่าน้อยแสดงว่าดาวฤกษ์ยิ่งสว่างมาก ยิ่งตัวเลขมากๆ จะมีความสว่างน้อยลงไปเรื่อย ๆ) เมื่อการเลือกดาวที่จะนำเข้ามาตั้งชื่อเสร็จสิ้นลงดาวทั้ง 2 ได้อยู่ในรายชื่อที่จะสามารถนำไปตั้งชื่อต่อไปได้

จากชื่อที่มีผู้นำเสนอตามหลักเกณฑ์กว่า 240 ชื่อ  มีชื่อดาว “ตะเภาแก้ว” ซึ่งเสนอโดย ด.ญ. ศกลวรรณ ตระการรังสี เป็นหนึ่งในนั้น  จากข้อสังเกตของนาย สุภาภัทร  อุดมรัตร์นุภาพ พบว่าเรามีชื่อ ตะเภาแก้ว ในชื่อที่ประชาชนเสนอมา เป็นตัวละครในนิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับจระเข้ชาละวันอยู่แล้ว ดาวดวงนี้ก็อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือ ดาวจระเข้ของไทย จึงนับว่าเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ ดาวฤกษ์ 47 หมีใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ชาละวัน ตัวละครสำคัญในวรรณคดีเรื่องไกรทอง ส่วนดาวเคราะห์บริวารสองดวง คือดาว 47 หมีใหญ่บี ดวงใหญ่กว่าและใกล้ดาวฤกษ์มากกว่า จึงได้ชื่อว่า ตะเภาทอง ผู้พี่ ส่วนดาว 47 หมีใหญ่ซีได้ชื่อว่า ตะเภาแก้ว เป็นชุดชื่อที่สอดคล้องลงตัวพอดี

นิทานพื้นบ้านเรื่องไกรทอง

พญาชาละวันเป็นจระเข้ขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในถ้ำใต้น้า ในถ้ำนั้นมีแก้ววิเศษที่บันดาลให้จระเข้ที่เข้าไปในถ้ำกลายร่างเป็นมนุษย์  วันหนึ่งพญาชาละวันออกหาเหยื่อ พอดีนางตะเภาทองกับนางตะเภาแก้วลูกสาวแฝดของเศรษฐีเมืองพิจิตรไปเล่นน้ำ พญาชาละวันเห็นนางตะเภาทองก็ชอบใจ ว่ายไปคาบนางลงสู่ถ้ำใต้น้าเป็นคู่ครอง ฝ่ายเศรษฐีจึงจ้างหมอจระเข้มาจับพญาชาละวัน แต่พญาชาละวันมีเขี้ยวแก้วกายสิทธิ์ อาวุธฟันแทงไม่เข้า หมอจระเข้ที่ไปจับถูกพญาชาละวันฆ่าตายหมด เศรษฐีประกาศว่าจะยกนางตะเภาแก้วและทรัพย์สมบัติครึ่งหนึ่งให้แก่คนที่ปราบพญาชาละวันได้คนที่มารับอาสาคือไกรทอง คนนนทบุรีที่ไปค้าขายในเมืองพิจิตรเป็นคนมีวิชาและมีหอกสัตโลหะที่แทงพญาชาละวันได้  ไกรทองทำพิธีเรียกพญาชาละวันขึ้นมาต่อสู้ด้วย พญาชาละวันสู้ไม่ได้จึงหนีเข้าถ้ำ ไกรทองตามไปจับตัวได้ และพานางตะเภาทองกลับมาคืนเศรษฐีสาเร็จ พญาชาละวันถูกหอกสัตโลหะแทงตาย ส่วนเศรษฐีก็ทาตามสัญญา ยกนางตะเภาแก้วกับสมบัติให้ไกรทองครึ่งหนึ่ง และเพราะไกรทองช่วยนางตะเภาทองกลับมาได้ เศรษฐีจึงยกนางตะเภาทองให้ไกรทองด้วย

“ชาละวัน”ชื่อดาวไทยของโลก

  สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้เปิดให้ประชาชนทั่วโลกลงคะแนนเลือกชื่อโลกต่างระบบ  ทางสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวไทยช่วยกันลงคะแนนเลือกชาละวันตั้งแต่ช่วง เดือนมิถุนายน 2558 จนถึง 31 ตุลาคม 2558  จากสื่อและหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดพิจิตร ทั้งวิทยุท้องถิ่นและการบอกกันปากต่อปากทำให้คะแนนดาวชาละวันเพิ่มขึ้นมาได้ไม่น้อย

วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 9:00 น.ตามเวลาสากล   สหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ แถลงข่าวอย่างเป็นทางการเรื่องผลการลงคะแนนชื่อโลกต่างระบบ (exoworld) พร้อมดาวเคราะห์ต่างระบบ (exoplanet) อันเป็นบริวาร ที่ได้รับการเสนอจากองค์การดาราศาสตร์ทั่วโลก ดาวทั้ง 20 ดวง มีชื่อสามัญใหม่ 14 ดวง (เพราะมีชื่อสามัญอยู่แล้ว 5 ดวง ถูกตัดสิทธิ์อีก 1 ดวง) ดาวเคราะห์อีก 31 ดวงก็มีชื่อสามัญใหม่ในจำนวนนี้ คือดาวชาละวัน และดาวเคราะห์ตะเภาทอง-ตะเภาแก้ว  ชื่อสามัญทั้งหมด จึงเป็นชื่อที่ใช้กันในวงการดาราศาสตร์สากลนับแต่นั้นเป็นต้นไป

กระผมนายเชิดพงศ์  วิสารทานนท์ ประธานโครงการสถาปนาชื่อไทยให้โลกต่างระบบ ขอขอบพระคุณชาวไทยทุกท่าน  คณะทำงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนที่ร่วมกันผลักดันให้ชื่อชาละวันได้เป็นชื่อสามัญ  ให้คนทั้งโลกได้รู้จักประเทศไทย ว่าเราเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวท้องฟ้ามาแต่โบราณ  เป็นความภาคภูมิใจให้กับยุวชน รุ่นถัดไป  ค่ำคืนนี้ที่ฟ้าแจ่มใสอย่าลืมพาลูกหลานของท่านออกไปหาดาวจระเข้ และมองหาดาวชาละวันกันนะครับขอบพระคุณครับ

แหล่งอ้างอิง
https://exoplanets.nasa.gov/interactable/11/
http://nameexoworlds.iau.org/exoworlds

เอกสาร กว่าจะเป็น … ดาวชาละวัน โดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย
chalawan-booklet

บทความดาราศาสตร์อื่นๆ